Skip to content

สัญลักษณ์ทางหนีไฟ คืออะไร พร้อมวิธีติดตั้งให้ได้มาตรฐาน

สัญลักษณ์ทางหนีไฟ คืออะไร พร้อมวิธีติดตั้งให้ได้มาตรฐาน

คุณเคยสังเกตไหม ว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ในตึกหรืออาคารไหน ก็มักจะมีป้ายสีเขียว ๆ ให้เห็นตามทางเดินอยู่เสมอ ซึ่งบนป้ายที่คุณเห็น อาจจะมีทั้งตัวอักษร “ทางออก” หรือ “EXIT” สัญลักษณ์รูปคนวิ่ง รวมไปถึงลูกศรที่ชี้ไปทางทิศใดทิศหนึ่ง ป้ายที่ว่านั้นก็คือป้ายทางหนีไฟ หรือ สัญลักษณ์ทางหนีไฟนั่นเอง เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ทางหนีไฟ และการติดตั้งป้ายที่ถูกต้องตามกฎหมายกัน

สัญลักษณ์ทางหนีไฟ คืออะไร

สัญลักษณ์ทางหนีไฟ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารกับผู้ใช้อาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้อาคารต้องเดินไปตามป้ายเพื่อเข้าสู่ประตูหนีไฟ แล้วลงบันไดเพื่อออกสู่ภายนอกอาคาร

การติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามมาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง

การติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามมาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง

เนื่องจากป้ายทางหนีไฟมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของคนหมู่มาก การติดตั้งป้ายในอาคารจึงต้องมีมาตรฐานและมีข้อกำหนดควบคุมโดยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของป้าย ขนาดของป้าย ขนาดสัญลักษณ์ในป้าย รวมไปถึงระยะติดตั้ง ซึ่งจะแบ่งตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.)ในบทความนี้ เราจะมาดูข้อกำหนดการติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) ที่เรายึดถือปฏิบัติตามกันมานาน

1. รูปแบบป้ายหนีไฟ

กรมโยธาธิการและผังเมืองได้กำหนดให้ป้ายประกอบไปด้วย ข้อความทั้งภาษาไทยอย่าง “ทางออก” “ทางหนีไฟ” หรือ “ทางออกหนีไฟ” หรือตัวหนังสือภาษาอังกฤษ “Exit” รวมถึงสัญลักษณ์รูปคนวิ่ง และทิศทางของลูกศร ทั้งนี้ ป้ายต้องให้แสงสว่างที่เพียงพอเพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นได้ง่าย

2. ขนาดป้ายหนีไฟ

ขนาดทุกด้านของป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟ ไม่ว่าจะเป็นด้านบน ด้านข้าง ด้านซ้ายและขวา จะต้องห่างจากตัวหนังสือและสัญลักษณ์บนป้ายไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร

3. ขนาดสัญลักษณ์ทางหนีไฟในป้าย

ขนาดของสัญลักษณ์ทางหนีไฟในป้ายตามกฎหมายมีดังนี้ 

  • รูปคนวิ่งต้องสูงอย่างน้อย 15 เซนติเมตร และกว้าง 10 เซนติเมตร
  • สัญลักษณ์ลูกศรกับตัวหนังสือ EXIT หรือทางออก ต้องรวมกันอยู่ในระยะความสูง 15 เซนติเมตร
  • ขนาดความหนาของตัวอักษรภาษาไทย และภาษาอังกฤษอยู่ที่ 10 มิลลิเมตร
  • ระยะห่างตัวอักษร 10 มิลลิเมตร

4. ระยะติดตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมาย

การติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามกฎหมาย ต้องติดตั้งเหนือประตูหรือตามทางเดินที่ความสูง 2-2.7 เมตร โดยป้ายที่ติดอยู่เหนือประตูทางออก ไม่จำเป็นต้องมีลูกศรในป้ายก็ได้ แต่ถ้าเป็นบริเวณทางเดิน ป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟจะต้องมีลูกศรบอกทิศทางให้ชัดเจน

สรุป

ป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง ถือเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เรายึดถือปฏิบัติตามกันมาอย่างยาวนาน และการติดตั้งป้ายทางหนีไฟให้ถูกต้องตามมาตรฐานดังกล่าว จึงมีความสำคัญอย่างมาก ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการใช้อาคาร และลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากคุณสนใจในอุปกรณ์ไฟฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ สามารถปรึกษาหรือเลือกซื้อสินค้าของ Sunny Emergency Light ได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือติดต่อเราได้ที่ 02-378-1034

บทความใกล้เคียง

ประโยชน์ของโคมไฟฉุกเฉิน และ ป้ายทางออกหนีไฟฉุกเฉิน อ้างอิงจากหลัก วสท.

ว่าด้วยเรื่องความใส่ใจ ผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นวิศวกรไฟฟ้าหรือทำงานในด้านนี้ ย่อมรู้จักกันดีว่าโคมฉุกเฉิน และป้ายทางออกฉุกเฉิน สองสิ่งนี้เป็นอุปกรณ์เซฟตี้

Read More »

วสท. คืออะไร และทำไมต้องอ้างอิงตามมาตรฐาน วสท

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นสถาบันทางวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีความรับผิดชอบต่อวงการวิศวกรรมในประเทศไทยและสอดคล้องกับวิศวกรรมระดับสากล

Read More »

มาตรฐานระยะทางการติดตั้งและขนาดสัญลักษณ์ ของป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟ

ป้ายทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟด้านบน ลักษณะการติดตั้ง ขอบล่างของป้ายทางออกฯ ควรอยู่สูงจากพื้นประมาณ 2-2.7เมตร

Read More »

ความส่องสว่างเพื่อการหนีไฟ

มาตรฐานเรื่องค่าของแสง พื้นที่แต่ละพื้นที่ในอาคารจะต้องมีค่าความสว่างเท่าไหร่ตามข้อกำหนด ในกรณีที่ระบบจ่ายไฟฟ้าปกติล้มเหลว ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องให้มีระดับความส่องสว่างขั้นต่ำ เพื่อให้หาทางออกได้อย่างปลอดภัยดังนี้

Read More »