Skip to content

Articles

ไฟฉุกเฉินคืออะไรมีกี่แบบทำงานอย่างไร

รวมทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) คืออะไร? มีกี่แบบ?

ในทุก ๆ อาคาร ทุก ๆ สถานที่ นอกจากอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีก็คือ “ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)” ที่จะติดตั้งอยู่ตามบริเวณทางเดิน หรือทางออกฉุกเฉิน แล้วไฟฉุกเฉิน คืออะไร? มีหน้าที่อะไรในระบบรักษาความปลอดภัย? Sunny Emergency Light จะพาคุณไปหาคำตอบเอง ไฟฉุกเฉินคืออะไร? ไฟฉุกเฉิน คือ เครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่องจะส่องสว่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือจับสัญญาณได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีค่าความสว่างต่ำกว่าที่ตั้งค่าไว้ (ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งานของแต่ละรุ่น) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อยู่ในอาคารสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้อย่างชัดเจน นำทางไปยังป้ายทางออกฉุกเฉิน และอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ตัวอย่างบริเวณที่ต้องมีโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉินทำงานอย่างไร? โคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง โดยแบ่งเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่ แบตเตอรี่แบบชนิดเติมน้ำกลั่น และแบตเตอรี่แบบแห้ง โดยเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ โคมไฟฉุกเฉินจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการส่องสว่าง ซึ่งระยะเวลาการส่องสว่างจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของโคมไฟฉุกเฉินและขนาดแบตเตอรี่ที่ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะต้องส่องสว่างอยู่ได้นาน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ไฟฉุกเฉินมีกี่แบบ แต่ละแบบมีจุดเด่นอย่างไร? ในปัจจุบัน มีโคมไฟฉุกเฉินจัดจำหน่ายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบแขวนผนัง เป็นโคมไฟฉุกเฉินที่ได้รับความนิยม และใช้งานกันทั่วไป เพราะให้แสงสว่างได้สูง แต่ใช้พลังงานไฟฟ้ากำลังวัตต์ต่ำมาก มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถให้แสงสว่างอย่างต่อเนื่องนาน 2 – 3 ชั่วโมง โดยจะนำมาติดตั้งแบบแขวนผนังตามจุดสำคัญต่าง ๆ ของอาคาร สำหรับใครที่ไม่รู้จะซื้อโคมไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบแขวนผนัง รุ่นไหนดี! เราขอแนะนำ โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG จาก SUNNY ที่มาพร้อมกับระบบ Auto Check ที่คอยตรวจเช็กสมรรถนะของตัวเครื่องและแจ้งเตือนความผิดปกติอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฟิวส์ และวงจรแสงสว่าง ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าโคมไฟฉุกเฉินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ที่สำคัญยังมีอายุการใช้งานยาวนานด้วยระบบการชาร์จ  3 Steps Charger

Read More »
เลือกไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี?

ตอบข้อสงสัยเลือกไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี? พร้อมแนะนำโคมไฟฉุกเฉิน 5 รุ่นสุดฮิต จาก SUNNY

“โคมไฟฉุกเฉิน” หรือ “Emergency Light” เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ระบบรักษาความปลอดภัยของอาคาร หรือที่พักอาศัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะช่วยให้ความสว่างเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือเกิดเพลิงไหม้ และนำทางไปยังทางออกฉุกเฉิน ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถหลบหนีได้อย่างปลอดภัย แล้วควรเลือกโคมไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี Sunny Emergency Light มีคำแนะนำมาฝาก ควรเลือกไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี? ในปัจจุบันมีโคมไฟฉุกเฉินให้เลือกใช้หลายยี่ห้อ อาจทำให้ผู้ประกอบการมือใหม่ที่กำลังสร้างอาคาร โรงงาน หรือที่พักอาศัย ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้โคมไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี เพื่อให้คุณเลือกยี่ห้อโคมไฟฉุกเฉินได้อย่างตอบโจทย์ คุ้มค่าคุ้มราคา เรามีคำแนะนำในการเลือกโคมไฟมาฝาก สามารถเลือกได้จากหัวข้อเหล่านี้เลย แนะนำ 5 โคมไฟฉุกเฉิน ยี่ห้อ SUNNY ที่ตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ หากคุณไม่รู้จะซื้อโคมไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี SUNNY ขอแนะนำ 5 รุ่นโคมไฟฉุกเฉินยอดนิยม ตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ แต่ละรุ่นจะมีความน่าสนใจอย่างไร ไปดูกันเลย! 1. โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น MESG โคมไฟฉุกเฉิน SUNNY รุ่น MESG มาพร้อมกับระบบ Auto Check คอยตรวจสอบสมรรถนะตัวเครื่อง และแจ้งเตือนความผิดปกติโดยอัตโนมัติในทุกจุดสำคัญของตัวเครื่อง เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฟิวส์ วงจรแสงสว่าง และระบบการชาร์จแบตเตอรี่ แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนานด้วยระบบการชาร์จนวัตกรรมใหม่อย่าง 3 Steps Charger System (เลขอนุสิทธิบัตร 15955) ที่เหนือกว่าระบบชาร์จอื่นช่วยปกป้องกระบวนการชาร์จแบตเตอรี่อย่างสมบูรณ์ 2. โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SGM โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SGM ที่ทำหน้าที่มากกว่าโคมไฟฉุกเฉินทั่วไป มีจุดเด่นตรงฟังก์ชันเสริม “วงจรจับการเคลื่อนไหว (Motion Sensor)” ที่ช่วยให้ใช้งานหลอดไฟจากตัวเครื่องอย่างคุ้มค่า และนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายสถานการณ์ โดยในขณะที่ไฟฟ้าดับ ตัวเครื่องสำรองไฟจะให้แสงสว่างด้วยไฟจากแบตเตอรี่ และในขณะที่ไฟไม่ดับ หากมีคนเดินผ่านที่ตัวเครื่อง แล้วพื้นที่บริเวณนั้นมีค่าแสงสว่างต่ำกว่า 5 ลักซ์ วงจรจับการเคลื่อนไหวจะทำงาน ทำให้ไฟติดเองอัตโนมัติ และจะดับภายใน 15 วินาที ถ้าไม่มีคนอยู่ 3. โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG

Read More »
รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับมาตรฐานไฟฉุกเฉิน

รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับมาตรฐานไฟฉุกเฉิน พร้อมเช็กลิสต์ 13 จุดที่ต้องติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน

เวลาที่เราเข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ต่าง ๆ หนึ่งในสิ่งที่ต้องสังเกตให้ดีคือ “โคมไฟฉุกเฉิน” และ “ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน” เพื่อที่เวลาเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะได้อพยพออกมาตามการนำทางของโคมไฟฉุกเฉิน มายังทางออกได้อย่างปลอดภัย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาคารที่เข้าไปใช้งานมีการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานไฟฉุกเฉิน บทความนี้มีคำตอบ ทำไมต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานไฟฉุกเฉิน การติดตั้งระบบโคมไฟฉุกเฉินและป้ายไฟทางออกฉุกเฉินให้ได้มาตรฐานตามที่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กำหนด เป็นสิ่งที่เจ้าของสถานที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายแล้ว มาตรฐานไฟฉุกเฉินที่ออกแบบมา ยังเป็นกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างอัคคีภัย หรือไฟฟ้าขัดข้องด้วย ถ้าหากอาคาร หรือสถานที่นั้น ๆ ไม่ได้ติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินและป้ายไฟทางออกฉุกเฉินที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็แสดงว่าไม่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคารนั่นเอง 13 จุดที่ต้องติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานไฟฉุกเฉิน บริเวณที่ต้องติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ตามมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน พ.ศ. 2565 (วสท. 021004-22) มี 13 บริเวณดังนี้ การติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินให้ได้มาตรฐาน ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง? นอกจาก 13 จุดที่ต้องติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินแล้ว เพื่อให้เจ้าของสถานที่เห็นภาพการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานไฟฉุกเฉินมากขึ้น เราได้รวม 3 เรื่องที่เจ้าของอาคารต้องให้ความสำคัญมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย! 1. เป้าหมายในการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน การติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน จะมีอยู่ 2 เป้าหมายหลัก ๆ ได้แก่ การให้แสงสว่างสำรองเวลาที่แหล่งจ่ายไฟปกติล้มเหลว และการให้แสงสว่างเพื่อการหนีภัย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะต้องติดตั้งวงจรการให้แสงสำรองแยกกัน โดยการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินจะต้องเป็นไปตามที่มาตรฐานไฟฉุกเฉินกำหนดเท่านั้น  การติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินเพื่อการหนีภัยนั้น จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ ดังนี้ 2. เลือกโคมไฟฉุกเฉินให้เหมาะกับแต่ละจุด โคมไฟฟ้าที่ใช้เพื่อส่องสว่างฉุกเฉินจะมีอยู่ 3 แบบหลัก ๆ ดังนี้ ไม่ว่าจะเลือกโคมไฟฉุกเฉินแบบใด โคมไฟฉุกเฉินนั้น ๆ จะต้องมีสเปคขั้นต่ำ คือ มีหลอดไฟ LED ที่มีความสว่างเพียงพอ แบตเตอรี่ต้องสามารถให้แสงสว่างได้อย่างน้อย 180 นาที และทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุไฟดับ 3. เลือกป้ายไฟทางออกฉุกเฉินให้ได้ขนาดมาตรฐาน ป้ายไฟทางออกฉุกเฉินก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน และจะต้องเลือกขนาดที่ได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานกำหนดด้วย โดยข้อกำหนดขนาดป้ายทางออกฉุกเฉินมาตรฐาน จะแตกต่างกันไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ อย่างไรก็ตาม ขนาดป้ายทางหนีไฟดังกล่าว เป็นข้อมูลขนาดป้ายทางออกฉุกเฉินเล็กสุดเท่านั้น หากป้ายมีขนาดใหญ่ จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แนะนำให้สอบถามเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญก่อนสั่งซื้อ เพื่อความถูกต้องที่สุด

Read More »

วงจร 3 steps charge

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไม แบตเตอรี่ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือซึ่งถูกใช้งานอยู่ทุกวันจึงมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ได้นานกว่าแบตเตอรี่ที่นำมาใช้งานในเครื่องไฟฉุกเฉิน – บางคนอาจจะตอบว่าเป็นเพราะแบตเตอรี่ต่างชนิดกัน แล้วมันเป็นเช่นนั้นจริงเหรอจริงครับแต่ไม่ใช่เหตุผลหลักหรือเหตุผลสำคัญ – แล้วเหตุผลที่สำคัญที่แท้จริงนั้นมันคืออะไรสาเหตุสำคัญที่จริงแล้วคือ ลักษณะของการนำเอาแบตเตอรี่มาใช้งานต่างหากที่เป็นปัจจัยหลักคือโทรศัพท์มือถือเป็นการใช้แบตเตอรี่แบบ Circle Useเครื่องไฟฉุกเฉินเป็นการนำแบตเตอรี่มาใช้งานแบบ Standby Use Circle Use คืออะไรCircle Use คือการนำแบตเตอรี่มาทำการชาร์จไฟเมื่อแบตเตอรี่หมด และเมื่อชาร์จไฟแบตเตอรี่เต็มแล้วจึงนำออกไปใช้งาน Standby Use คืออะไรStandby Use คือการชาร์จแบตเตอรี่แบบมีไฟเลี้ยงแบตเตอรี่ไว้ตลอดเวลาเพื่อให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ เพื่อจะรอใช้งานเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ไฟที่ไปเลี้ยงแบตเตอรี่ตลอดเวลานี้เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นซึ่งถ้าเราสามารถนำเครื่องไฟฉุกเฉินมาใช้งานได้ทุกวันเหมือนโทรศัพท์มือถือ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินก็สามารถใช้งานได้ไม่ต่างกับแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือเท่าไหร่นัก แต่ในการใช้งานจริงๆมันไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ – แล้วจะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาปัญหานี้ได้?นวัตกรรมใหม่ในการออกแบบวงจรชาร์จแบตเตอรี่ที่มีการใช้งานแบบ Standby Use ให้มีการชาร์จแบตเตอรี่เป็นแบบ Circle Use ด้วยวงจรชาร์จที่เรียกว่า 3 Step Charger จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ – 3 Step Charge คืออะไร ทำงานยังไง3 Step Charger คือ วงจรชาร์จแบตเตอรีที่จะตัดวงจรชาร์จแบตเตอรี่ออกจากแบตเตอรี่เมื่อแบตเตอรี่ชาร์จเต็มเหมือนการชาร์จแบบ Circle Use ซึ่งก็จะไม่มีไฟไปเลี้ยงแบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลาการทำงานของ 3 Step Charger คือStep 1. ถ้าประจุของแบตเตอรี่ต่ำมาก การชาร์จประจุเข้าแบตเตอรี่ โดยวิธีควบคุมกระแสชาร์จ(Limit Current) ไม่ให้เกิน Normal Charge คือไม่เกิน 10%ของความจุของตัวแบตเตอรี่Step 2. เมื่อประจุของแบตเตอรี่สูงขึ้น กระแสชาร์จก็จะลดลง วงจรชาร์จก็จะเปลี่ยนการชาร์จเป็นแบบ การชาร์จแบบแรงดันคงที่ (Constant Voltage Charge)Step 3. เมื่อทำการชาร์จด้วย แรงดันคงที่จนมาถึงจุด Float Charge (แบตเตอรี่เต็ม) แล้ววงจรชาร์จก็จะเปลี่ยนการชาร์จเป็นแบบ Flip Flop Charge คือจะทำการตัดวงจรชาร์จออกจากแบตเตอรี่ แล้วปล่อยให้แบตเตอรี่คายประจุไปด้วย Self Discharge จนประจุลดลงมาถึงระดับที่ตั้งใว้ (อิงจาก OCV ในคู่มือของแบตเตอรี่) ก็จะทำการต่อการชาร์จด้วยวงจร Constant Voltage Charge เข้าไปจนเต็มอีก

Read More »

ถ้าไฟฟ้าดับเครื่องไฟฉุกเฉินจำเป็นต้องติดเพื่อให้แสงสว่างไหม?

ถ้าไฟฟ้าดับเครื่องไฟฉุกเฉินจำเป็นต้องติดเพื่อให้แสงสว่างไหม? ถ้าบริเวณนั้นสว่าง ประโยชน์ของเครื่องไฟฉุกเฉินที่นำมาใช้งานก็คือ การให้แสงสว่างชดเชยแสงสว่างปกติเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เพื่อจะได้มองเห็นทางเดินและสิ่งกรีดขวางเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในขณะที่ไฟฟ้าดับ จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของเครื่องไฟฉุกเฉินคือให้แสงสว่างเมื่อเวลาไฟฟ้าดับและบริเวณนั้นมืด และมันจะไม่จำเป็นเลยถ้าไฟฟ้าดับแต่บริเวณนั้นยังสว่างอยู่ เช่นถ้าไฟฟ้าดับในเวลากลางวันซึ่งแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ยังส่องเข้ามาถึง สามารถสามารถมองเห็นทางเดิน และสิ่งกรีดขวางได้ ดังนั้นแสงสว่างจากเครื่องไฟฉุกเฉินก็ไม่มีความจำเป็นในขณะนั้น แต่บางครั้งไฟฟ้าอาจดับเป็นเวลานานจนไปถึงตอนใกล้มืด ซึ่งตอนนี้แหละเป็นช่วงเวลาที่ต้องการแสงสว่างจากเครื่องไฟฉุกเฉินแล้ว แต่เครื่องไฟฉุกเฉินถูกใช้ไฟไปจนหมดตั้งแต่ตอนกลางวันแล้ว พอตอนกลางคืนที่ต้องการจะใช้กลับใช้งานไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงตระหนักดีถึงความสำคัญในการที่จะออกแบบเครื่องไฟฉุกเฉินให้ใช้งานได้ ตรงตามสภาวะ การใช้งานที่จำเป็นจริงๆ คือหลอดไฟจะติดเพื่อให้แสงสว่างขณะไฟฟ้าดับเฉพาะตอนที่บริเวณนั้นมีความมืดต่ำกว่า 5 LUX เท่านั้น เครื่องไฟฉุกเฉินชนิดนี้เราเรียกว่า EMERGENCY LIGHT DETECTOR

Read More »

มาตรฐานชนิดและขนาดของสายไฟฟ้าสำหรับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต่อพ่วง

มาตรฐานชนิดและขนาดของสายไฟฟ้าสำหรับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต่อพ่วง ใช้สำหรับเดินจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินส่วนกลางไปยังโคมไฟแสงสว่างฉุกเฉิน ในอาคารใหญ่ อาคารใหญ่พิเศษ หรือ อาคารสูง ที่มีวงจรไฟฟ้าของโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินแยกต่างหาก ต้องใช้สายทนไฟ Fire Performance Cable (FRC)และติดตั้งตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยฉบับล่าสุด โดยต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ เช่น ช่องเดินสายชนิดโลหะ ยกเว้นในส่วนปิดล้อมที่ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงหรือใช้ระบบการเดินสายอื่นที่ให้ผลการป้องกันเทียบเท่ากัน โดยสายไฟฟ้าต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรับกระแสที่ไหลในวงจรได้ แต่ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 2.5 ตารางมิลลิเมตรและแรงดันตกไม่เกินร้อยละ 5 อีกทั้งการเดินสายระบบสำหรับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต่อพ่วงต้องแยกจากการเดินสายวงจรอื่นโดยการติดตั้งท่อหรือช่องเดินสายแยกจากกันหรือแยกตัวนำจากตัวนำอื่น โดยมีที่กั้นต่อเนื่องที่ทำด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟช่องเดินสายหรือเครื่องหมายอื่นๆต้องมีเครื่องหมายกำกับที่ถาวร และเห็นได้ชัดเจน อ้างอิงจาก หนังสือ มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินฉบับ แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4 ตุลาคม 2561

Read More »

ความส่องสว่างเพื่อการหนีไฟ

มาตรฐานเรื่องค่าของแสง พื้นที่แต่ละพื้นที่ในอาคารจะต้องมีค่าความสว่างเท่าไหร่ตามข้อกำหนด ในกรณีที่ระบบจ่ายไฟฟ้าปกติล้มเหลว ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องให้มีระดับความส่องสว่างขั้นต่ำ เพื่อให้หาทางออกได้อย่างปลอดภัยดังนี้ พื้นที่โล่งภายในอาคารที่ไม่มีทางหนีภัยที่ชัดเจน กำหนดให้มีระดับความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้นทั่วพื้นที่ๆไม่มีสิ่งกีดขีดขวางต้องไม่น้อยกว่า 0.5 ลักซ์ ยกเว้นพื้นที่ๆห่างจากผนังในระยะ 0.5เมตร โดยรอบ ดังรูป 2. ทางหนีภัยที่มีความกว้างไม่เกิน 2 เมตร กำหนดให้มีระดับความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้นที่เส้นกึ่งกลางของทางหนีภัยไม่น้อยกว่า 1ลักซ์ และบนแถบกลางทางหนีภัยที่มีความกว้างไม่น้อยกว่าครึ่งนึงของทางหนีภัย ต้องมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่าครึ่งนึงของความส่องสว่างต่ำสุดที่ออกแบบไว้บนเส้นกึ่งกลางทางหนีภัย ดังรูป 3. ทางหนีภัยที่มีความกว้างเกิน 2 เมตร กำหนดให้มีระดับค่าความส่องสว่างเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังรูป ให้แบ่งความกว้างทางหนีไฟเป็นแถบกว้างเท่าๆกัน แถบละไม่เกิน 2 เมตร และออกแบบถามข้อ 2 (ทางหนีภัยที่มีความกว้างไม่เกิน 2 เมตร) กำหนดให้มีระดับความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้นทั่วพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งกีดขวางตามข้อ 1 (พื้นที่โล่งภายในอาคารที่ไม่มีทางหนีภัยที่ชัดเจน) 4. พื้นที่งานที่มีความเสี่ยงสูง ความส่องสว่างที่พื้นที่ทำงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าระดับความส่องสว่างในเวลาปกติ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ 5. พื้นที่เตรียมการหนีภัย จุดรวมพลเพื่อการหนีภัยภายในอาคาร พื้นที่ปฎิบัติงานของพนักงานดับเพลิงเจ้าหน้าที่พนักงานกู้ภัย รวมถึงห้องควบคุมการปฎิบัติงานความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้น ต้องไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ 6. พื้นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์แจ้งเหตุ และพื้นที่เก็บอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ความส่องสว่างในแนวระนาบดิ่งที่ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต้องไม่น้อยกว่า 5ลักซ์ โดยตำแหน่งโคมไฟฟ้า แสงสว่างฉุกเฉินต้องติดตั้งในระยะห่างไม่เกิน 2เมตร จากจุดกึ่งกลางของตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ ดังรูป อ้างอิงจาก หนังสือ มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินฉบับ แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4 ตุลาคม 2561

Read More »

มาตรฐานระยะทางการติดตั้งและขนาดสัญลักษณ์ ของป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟ

ป้ายทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟด้านบน ลักษณะการติดตั้ง ขอบล่างของป้ายทางออกฯ ควรอยู่สูงจากพื้นประมาณ 2-2.7เมตร ความสูงนอกเหนือจากนี้ สามารถทำได้ตามที่กำหนดในแผนและคู่มือการป้องกันเพลิงไหม้ (fire procedure) ป้ายทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟด้านล่าง อนุญาตให้ใช้เป็นป้ายเสริมเท่านั้น โดยขอบล่างของป้ายสูงจากพื้นที่ 15-20เซนติเมมตร และขอบของป้ายควรอยู่ห่างจากขอบประตูไม่น้อยกว่า 10เซนติเมตร ป้ายทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟฝังพื้น อนุญาตให้เป็นป้ายเสริมเท่านั้น ต้องเป็นชนิดกันน้ำที่มีความแข็งแรง เหมาะสำหรับใช้ในเส้นทางหนีภัย โดยไม่ก่อให้เกิดการสะดุด หรือเป็นอุปสรรคในขณะหนีภัย ก. การติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟในทางตรง ข. การติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ บริเวณทางเลี้ยวและทางแยก อ้างอิงจาก หนังสือ มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินฉบับ แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4 ตุลาคม 2561

Read More »

วสท. คืออะไร และทำไมต้องอ้างอิงตามมาตรฐาน วสท

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นสถาบันทางวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีความรับผิดชอบต่อวงการวิศวกรรมในประเทศไทยและสอดคล้องกับวิศวกรรมระดับสากล นโยบายที่สำคัญของ วสท. ส่วนหนึ่งคือ ส่งเสริมการจัดทำตำรา คู่มือ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาต่างๆ เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้และนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิผลต่อบุคคลและวงการวิศวกรรม จนปัจจุบันได้รับการยอมรับจากหน่วนงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และ เอกชนทั่วไป วสท. มีเป้าหมายจัดทำมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน เพื่อเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระทางด้านการออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่สร้างความปลอดภัยต่อชีวิต และ ทรัพย์สิน อีกทั้งถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นมาตรฐานระดับประเทศ อ้างอิงจาก หนังสือ มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินฉบับ แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4 ตุลาคม 2561

Read More »

ประโยชน์ของโคมไฟฉุกเฉิน และ ป้ายทางออกหนีไฟฉุกเฉิน อ้างอิงจากหลัก วสท.

ว่าด้วยเรื่องความใส่ใจ ผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นวิศวกรไฟฟ้าหรือทำงานในด้านนี้ ย่อมรู้จักกันดีว่าโคมฉุกเฉิน และป้ายทางออกฉุกเฉิน สองสิ่งนี้เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ ที่จะช่วยลดโอกาสของการสูญเสียในเหตุการณ์ไฟไหม้ ที่ไฟฟ้าดับ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ส่วนมากจะเกิดในช่วงกลางคืน  ซึ่งไฟฟ้าจะดับและบริเวณทางหนีไฟหรือประตูทางออกจะมืด ถ้าคุณอยู่ในอพาท์เม้นชั้นสี่แล้วไฟไหม้ ไฟฟ้าดับคุณจะหาทางออกได้อย่างไร จะไปทางไหนเมื่อไฟมา ควันไฟเป็นตัวสำคัญที่จะบดบังทางเอาชีวิตรอดของคุณ ซึ่งโคมไฟฉุกเฉินจะส่องสว่างเมื่อเวลาไฟดับช่วยให้คุณเห็นทางออกที่จะสามารถออกจากที่เกิดเหตุได้ ป้ายทางออกฉุกเฉินจะติดอยู่บริเวณทางออกเพื่อให้ผู้ประสบเหตุเห็นว่าทางออกอยู่ทางไหน โดยจะส่องสว่างตลอดเวลาแม้ไฟฟ้าดับเพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีแบตเตอรี่ที่จะจ่ายกระแสไฟเมื่อไฟฟ้าดับครับ ขอยกตัวอย่างในเรื่องของกฎหมายและการติดตั้ง อาคารนั้นควรมีการติดตั้งโคมไฟฟ้าป้ายทางออกที่เหนือประตูทางออก และควรมีโคมไฟฟ้าป้ายทางออกที่มองเห็นได้ในระยะไม่เกิน 24 เมตรจากจุดที่เราอยู่ และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกต้องส่องสว่างตลอดเวลาที่มีคนใช้งานอยู่ในอาคาร แต่ถ้าหากจากจุดที่เรายืนอยู่ มองรอบตัวแล้วยังมองไม่เห็นโคมไฟฟ้าป้ายทางออกในระยะ 24 เมตรแล้ว  ถ้าหากเกิดไฟไหม้ ไฟดับแล้วเขาจะไม่รู้เลยว่าควรจะออกจากอาคารได้ด้วยเส้นทางใด สถานที่ที่ควรมีระบบโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน วสท.กำหนดให้หากเกิดกรณีไฟดับแล้วอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน สำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สถานบันเทิง ร้านอาหาร คอนโดฯ ต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินที่ให้ระดับความส่องสว่างที่พื้นกึ่งกลางทางหนีไฟไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์ (คือหน่วยที่ใช้วัดความสว่าง (Illuminance) 10:45 N. 1 lux = 10.76 lm / ft2 (ตารางฟุต) หลังจากที่ไฟฟ้าดับหรือระบบการจ่ายไฟผิดปกติ ระบบโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องให้แสงสว่างภายใน 5 – 60 วินาที และสำหรับพื้นที่งานที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องให้แสงสว่างภายใน 0.5 วินาที เช่น ภายในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรกำลังทำงาน เครื่องปั๊ม เครื่องตัดเหล็ก พื้นที่โรงงานที่มีมอเตอร์หมุน เป็นต้น ซึ่งหากเกิดเหตุการฉุกเฉินระบบไฟฟ้าแสงว่างฉุกเฉินต้องทำงานให้เร็วที่สุดเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ อ้างอิงข้ออมูลเนื้อหา จากหนังสือ มาตรฐาน วสท. ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4นอกจากในส่วนของอุปกรณ์เซฟตี้ในเหตุการณ์ต่างๆ โคมไฟฉุกเฉินยังช่วยในเรื่องของการส่องสว่างเวลาไฟฟ้าดับ คุณจะทำงานต่อได้อย่างไร หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆต่อไปได้ คุณก็ต้องการแสงสว่าง แต่หากมีไว้ปลอดภัยแถมยังมีประโยชน์มากมายหลายด้าน ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี มอก. รับรอง

Read More »