Skip to content

การติดตั้งไฟฉุกเฉินที่ถูกต้องในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

การติดตั้งไฟฉุกเฉินที่ถูกต้องในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

ไฟฉุกเฉิน หรือ Emergency Light คืออุปกรณ์ให้แสงสว่างในอาคารเมื่อเกิดเหตุไฟดับ ไฟไหม้ หรือสภาพการมองเห็นต่ำ ซึ่งจะส่องสว่างทันทีหลังจากไฟดับ ทำงานโดยอาศัยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำรอง นอกจากการติดตั้งไฟฉุกเฉินจะให้ความสว่างกรณีไฟฟ้าดับแล้ว ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่ต้องยึดถือปฏิบัติตามอีกด้วย โดยเฉพาะในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

การติดตั้งไฟฉุกเฉินสำคัญอย่างไร

การติดตั้งไฟฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญ สามารถช่วยให้ผู้คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถมองเห็น และอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ข้อกฎหมายได้มีการกำหนดเป็นมาตรฐานของอุปกรณ์ไฟฉุกเฉิน รวมถึงด้วยตำแหน่งที่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉิน ดังนี้

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งไฟฉุกเฉิน

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งไฟฉุกเฉิน

ข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งไฟฉุกเฉิน กำหนดไว้ดังนี้

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 26 บันไดหนีไฟทีอยู่ภายในอาคารต้องมีผนังกันไฟโดยรอบ ยกเว้นช่องระบายอากาศและต้องมีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินให้มองเห็นช่องทางได้ขณะเพลิงไหม้ และมีป้ายบอกชันและป้ายบอกทางหนีไฟทีด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟทุกชันด้วยตัวอักษรทีสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยตัวอักษรต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 เซนติเมตร
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเพื่อการหนีไฟ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟ และสำหรับใช้กับอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นหรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ในทันทีที่ไฟฟ้าดับ
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ผู้ประกอบกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย มีไว้ซึ่งอุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟจากอาคารที่ประกอบกิจการ โดยระบุไว้ในคู่มือท้ายประกาศ
  • มาตรฐานการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ออกโดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

ตำแหน่งที่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉิน

การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยติดตั้งในตำแหน่งเส้นทางหนีภัย เช่น ประตูทางออก ทางแยก ทางเลี้ยว พื้นต่างระดับ บันไดเลื่อนและทางเลื่อน จุดรวมพลเพื่อการหนีภัยภายในอาคาร ดาดฟ้าและบริเวณพื้นที่รอการหนีภัยทางอากาศ และพื้นที่อื่น ๆ เช่น ห้องน้ำ พื้นที่เปิดโล่งภายในอาคาร จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง พื้นที่อันตรายเช่นห้องไฟฟ้าเครื่องกล ฯลฯ

การพิจารณาเลือกซื้อไฟฉุกเฉินควรเลือกจากอะไร

การพิจารณาเลือกซื้อไฟฉุกเฉินควรเลือกจากอะไร

การเลือกซื้ออุปกรณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นป้ายทางหนีไฟ หรือ ไฟฉุกเฉิน ก็ต้องเลือกที่มีมาตรฐานการรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ยิ่งเป็นอาคารใหญ่หรือโรงงานที่มีคนทำงานมากมาย ความปลอดภัยยิ่งต้องเป็นอันดับหนึ่ง รวมถึงฟังก์ชันการทำงานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉินที่ต้องตอบโจทย์การใช้งานตามสถานที่ต่าง ๆ

1. มีมาตรฐาน

ไฟฉุกเฉินในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ควรได้รับมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปที่ได้ยึดถือปฏิบัติตามมาอย่างยาวนาน เพื่อความปลอดภัยของคนหมู่มาก

2. ระดับความสว่าง

ไฟฉุกเฉินที่ดี โดยเฉพาะแสงสว่างที่ต้องใช้ในพื้นที่กว้างอย่างอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องให้ความสว่างที่เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  • แสงสว่างเพื่อหนีภัย เป็นแสงที่ส่องสว่างได้แม้ระบบจ่ายไฟยังคงทำงานเป็นปกติ จุดประสงค์หลักคือเพื่อให้ผู้คนมองเห็นชัดขึ้นขณะอพยพหนีภัย 
  • แสงสว่างสำรอง เป็นแสงที่ส่องสว่างต่อเนื่องแม้ว่าระบบจ่ายไฟฟ้าจะล้มเหลวก็ตาม ซึ่งก็คือกรณีไฟฟ้าดับ แสงสว่างสำรองที่ดีควรให้แสงที่เทียบเท่ากับแสงสว่างตามปกติ บริเวณที่ติดตั้งไฟฉุกเฉิน เช่น ทางหนีไฟ ทางในอาคาร พื้นที่โล่งในอาคาร ต้องมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 0.5 ลักซ์ กรณีทางหนีไฟมีความกว้างไม่เกิน 2 เมตร ระดับความสว่างต้องไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อาคารขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไฟฉุกเฉินต้องให้ความสว่างไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์

3. ความจุและชนิดของแบตเตอรี่

แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉิน ต้องสามารถจ่ายไฟไม่ต่ำกว่า 120 นาที มีแรงไฟฟ้าต่ำสุดไม่น้อยกว่า 80% ของแรงดันพิกัดปกติ รวมถึงมีเวลาอัดประจุไม่เกิน 24 ชั่วโมง

4. ระยะเวลาเริ่มทำงานของไฟ

ไฟฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน ต้องให้แสงสว่างทันทีหรือภายใน 0.5 วินาทีหลังไฟฟ้าดับ โดยทั่วไป โคมไฟฟ้าฉุกเฉินที่ติดตั้งในอาคาร ต้องส่องสว่างต่อเนื่อง 90-120 นาที แต่ในกรณีโรงงานโดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ จะต้องสามารถส่องสว่างไม่น้อยกว่า 120 นาที

การติดตั้งไฟฉุกเฉินมีความสำคัญมากในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้ หรือไฟดับ โดยเฉพาะบริเวณในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีคนหมู่มากอาศัยและทำงานอยู่ เป็นประโยชน์ต่อผู้คนที่ต้องรีบอพยพออกในเวลาสั้น ๆ การติดตั้งไฟฉุกเฉินจึงควรมีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

หากคุณสนใจซื้อไฟฉุกเฉิน Sunny Emergency Light มีบริการจัดจำหน่ายไฟฉุกเฉินคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถปรึกษาหรือเลือกซื้อสินค้าของเราได้ที่เว็บไซต์ หรือติดต่อเราได้ที่ 02-378-1034