Skip to content

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน ต้องดูแลรักษายังไง

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน ต้องดูแลรักษายังไง

ตามอาคารต่าง ๆ จะต้องมีการออกแบบทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน และจะต้องมีการติดตั้งระบบไฟส่องสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วยเช่นกัน เพื่อให้ผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารมองเห็นได้อย่างชัดเจน สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย นอกเหนือจากการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบไฟฉุกเฉินเป็นประจำว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่ เป็นไปตามข้อกำหนดหรือเปล่า เพื่อให้ผู้ใช้งานจะได้มีความปลอดภัย และไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการตรวจสอบนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจําเดือน แต่จะมีหลักการใด ๆ บ้าง ไปดูกัน

ขอบเขตการตรวจสอบไฟฉุกเฉินตามมาตรฐาน วสท.

ขอบเขตการตรวจสอบไฟฉุกเฉินตามมาตรฐาน วสท.

หลังจากที่มีการติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินให้เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว หากใช้ไปนาน ๆ ระบบไฟฉุกเฉินอาจจะเกิดการเสื่อมสภาพ และชำรุด เสียหายได้ตามระยะเวลาในการใช้งาน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบ และทดสอบระบบไฟฉุกเฉินเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าป้ายทางออก และระบบโคมไฟฉุกเฉิน เพื่อไม่เกิดความเสียหายเมื่อต้องใช้งาน โดยจะต้องมีการตรวจตามระยะเวลาที่กำหนด และตรวจตามแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจำเดือน

แนวทางการตรวจสอบ

แนวทางการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินนั้นจะต้องมีการกำหนดระเวลาในการตรวจสอบ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยสามารถกำหนดตารางในการตรวจสอบไว้ได้เลย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งแนวทางในการตรวจสอบนั้นสามารถเลือกทำได้ 2 แบบ คือ

  • การตรวจสอบด้วยตัวเอง (Manual) เป็นรูปแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจำเดือน หรือประจำปี ซึ่งเป็นการตรวจสอบที่ช่างจะเข้าไปตรวจสอบระบบไฟฟ้าฉุกเฉินตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคารด้วยตัวเอง 
  • การตรวจสอบแบบอัตโนมัติ (Automatic) เป็นรูปแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจำเดือน หรือประจำปีโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยควบคุมและตรวจวัดด้วยอุปกรณ์ทางไกล โดยที่ผู้ตรวจไม่ต้องอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ก็ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

การตรวจสอบไฟฟ้าฉุกเฉินตามวาระ

การตรวจสอบไฟฟ้าฉุกเฉินตามวาระ

ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเป็นหนึ่งในระบบที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งป้ายหนีไฟ โคมไฟฉุกเฉิน รวมทั้งระบบความสว่างทางหนีภัยนั้นเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดวาระในการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจำเดือน ประจำปี หรือการตรวจสอบเมื่อมีการติดตั้งใหม่ รวมถึงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติทุก ๆ วัน

ตรวจสอบติดตั้งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลง

เมื่อระบบไฟฟ้าฉุกเฉินมีการติดตั้งใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงในบางจุดจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า โดยจะต้องตรวจสอบจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ และระบบไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องส่องสว่างในภาวะฉุกเฉินได้ไม่น้อยกว่า 120 นาที พร้อมทั้งต้องทดสอบระบบตัดไฟ การยกเลิกการทำงานของสวิตซ์ไฟอย่างได้มาตรฐานด้วย

แบบตรวจไฟฉุกเฉิน ประจำเดือน

สำหรับแบบตรวจไฟฉุกเฉิน ประจำเดือนนั้นจะต้องมีการตรวจเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง โดยระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และระบบไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินจะต้องได้รับการตรวจสอบการทำงาน และทดสอบระบบว่าสามารถทํางานได้ถูกต้องในช่วงเวลาไม่น้อยกวา 30 วินาที หรือในกรณีที่ไม่สามารถจ่ายไฟได้ จะต้องมีสัญญาณแสดงความล้มเหลว เตือนให้ได้ทราบ

แบบตรวจไฟฉุกเฉิน ประจำปี

การทดสอบระบบไฟฟ้าฉุกเฉินประจำปีนั้น จะตรวจสอบโดยการจำลองความล้อมเหลวของแหล่งจ่ายไฟปกติ เพื่อทดสอบ และระบบไฟฟ้าฉุกเฉินต่าง ๆ จะต้องสว่างในภาวะฉุกเฉินได้ไม่น้อยกว่า 120 นาที ในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟ ไม่สามารถจ่ายไฟได้นานถึง 120 นาทีในระหว่างที่ทำการทดสอบ ระบบจะต้องมีสัญญาณในการแจ้งเตือนความล้มเหลว

สรุปบทความ

ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบอกทางให้สามารถหนีภัยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในอาคารได้อย่างปลอดภัย จึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีทั้งแบบตรวจสอบไฟฉุกเฉินประจำเดือน ประจำปี และในกรณีตรวจสอบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เพื่อให้มีความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และไม่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน