ปัญหาไฟดับบ่อยเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัย ทั้งการทำงาน การพักผ่อน รวมถึงความปลอดภัยในยามค่ำคืน ไฟดับเกิดจากอะไรบ้าง? วันนี้ Sunny Light Emergency ได้รวบรวม 6 สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไฟดับบ่อยในบ้านและอาคาร พร้อมแนวทางการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ไฟดับเกิดจากอะไร
ไฟดับบ่อยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากระบบไฟฟ้าภายในตัวอาคาร ปัจจัยภายนอก และการดำเนินการของการไฟฟ้า ซึ่งแต่ละสาเหตุส่งผลกระทบต่อระบบจ่ายไฟฟ้าในระดับที่แตกต่างกัน มาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง
ไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านหรืออาคาร
สาเหตุแรกที่ทำให้ไฟดับบ่อยคือการลัดวงจรภายในอาคาร มักเกิดจากการต่อสายไฟไม่ถูกต้อง สายไฟเก่าชำรุด หรือการใช้งานเกินกำลังไฟที่ระบบรองรับ นอกจากทำให้ไฟดับแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ได้ จึงควรติดตั้งไฟฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยยามเกิดเหตุ
เกิดจากภัยธรรมชาติ
พายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง และฟ้าผ่า เป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้ไฟดับบ่อยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน สภาพอากาศรุนแรงอาจทำให้กิ่งไม้หักโค่นทับสายไฟ หรือฟ้าผ่าทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าเสียหาย ส่งผลให้ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง
เกิดจากสัตว์ที่ขึ้นไปบนเสาไฟฟ้า
สัตว์จำพวกนก งู หรือกระรอกที่ปีนป่ายบนเสาไฟฟ้า อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อสัมผัสสายไฟแรงสูง ทำให้ไฟดับบ่อยโดยไม่คาดคิด การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัตว์บนเสาไฟฟ้าจึงเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันปัญหานี้
เกิดจากสภาพแวดล้อม
มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง และคราบสกปรกสะสมบนลูกถ้วยฉนวน อาจทำให้เกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า นำไปสู่การลัดวงจรและไฟดับได้ โดยเฉพาะในพื้นที่อุตสาหกรรมหรือเขตเมืองที่มีมลพิษสูง การบำรุงรักษาอุปกรณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น
อุบัติเหตุต่อเสาไฟฟ้า
อุบัติเหตุจากยานพาหนะชนเสาไฟฟ้า หรือการก่อสร้างที่กระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า เป็นสาเหตุที่ทำให้ไฟดับบ่อยในเขตชุมชน การติดตั้งป้ายทางหนีไฟและไฟฉุกเฉินจึงมีความสำคัญเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย
การไฟฟ้าตัดกระแสไฟฟ้า
การดับไฟตามแผนของการไฟฟ้าเพื่อซ่อมบำรุงหรือปรับปรุงระบบ เป็นสาเหตุของไฟดับที่มีการแจ้งล่วงหน้า แม้จะสร้างความไม่สะดวก แต่เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบจ่ายไฟในระยะยาว
เมื่อไฟดับควรทำอย่างไร
- ตรวจสอบว่าไฟดับเฉพาะบ้านเราหรือทั้งละแวก เพื่อประเมินสถานการณ์เบื้องต้น หากไฟดับเฉพาะบ้านเรา อาจเกิดจากปัญหาภายในระบบไฟฟ้า ควรตรวจสอบเบรกเกอร์และแจ้งช่างผู้เชี่ยวชาญ
- งดใช้ลิฟต์โดยสารทันที เมื่อเกิดไฟดับในอาคารสูง ห้ามใช้ลิฟต์เด็ดขาดเพื่อป้องกันการติดค้าง ใช้บันไดหนีไฟแทน โดยสังเกตป้ายทางหนีไฟและไฟฉุกเฉินเป็นเครื่องนำทาง
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญ เพื่อป้องกันความเสียหายจากไฟกระชาก เมื่อกระแสไฟฟ้ากลับมา ควรถอดปลั๊กอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำคัญทั้งหมด
- เตรียมไฟฉายหรือแหล่งกำเนินแสงสว่างสำรอง จัดเตรียมไฟฉาย เทียน หรือแหล่งแสงสว่างสำรองให้พร้อมใช้งาน โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
- ติดตามข่าวสารจากการไฟฟ้า ติดตามประกาศจากการไฟฟ้าผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อรับทราบสาเหตุและระยะเวลาในการแก้ไข
การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไฟดับบ่อยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินและป้ายทางหนีไฟที่ได้มาตรฐาน ซึ่งไม่เพียงช่วยในยามไฟดับ แต่ยังรองรับเหตุฉุกเฉินอื่นๆ เช่น อัคคีภัย Sunny Light Emergency พร้อมให้บริการด้วยโคมไฟฉุกเฉิน และป้ายทางหนีไฟคุณภาพสูง รับประกันความปลอดภัยในทุกสถานการณ์ฉุกเฉิน