คำถามที่พบบ่อย
ABOUT PRODUCT
เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
คำตอบ : Transfer Relay ที่อยู่ที่เครื่อง Inverter ทำหน้าที่ตัดต่อ ไฟฟ้าจากในตู้ต่อออกไปยังหลอดไฟ แต่ Tranfer Relay ที่ซื้อแยกเขาจะใช้ตัดต่อไฟฟ้าระหว่างตู้กับไฟฟ้าที่มาจากสวิตช์ภายนอกที่ลูกค้าต้องการ
คำตอบ : แนะนำที่ 0-40 องศา
คำตอบ :
- นำเครื่องที่จะใช้งานไปเสียบปลั๊ก
- ทำการทดสอบเครื่องทุก 30วัน
- เมื่อครบ 2ปี ควรนำเครื่องมาตรวจสอบวงจร ก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่
คำตอบ : การใช้งาน Auto test การคายประจุด้วยการจำรองสถานการณ์เหมือนไฟฟ้าดับ โดยการคายประจุจะตัดวงจรชาร์จออกแล้วจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังหลอดไฟ และจับเวลา 1ชม จึงต่อไฟกลับคืนสู่สภาวะปกติวงจรชาร์จแบตเตอรี่ก็จะทำการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มเหมือนเดิม และก็จะเริ่มนับเวลาใหม่
คำตอบ : ขั้นตอนการตรวจเครื่องมันก็มีหลักๆ คือ
- ตรวจสอบวงจรชาร์จแบตเตอรี่ว่าตัดการชาร์จที่กี่ Volt
- ตรวจเช็คแบตเตอรี่ว่ายังสามารถจ่ายไฟกับ Load ที่กินไฟสูงๆได้ไหม
- เช็ค Low voltage cut-off ว่าทำงานได้ปกติไหม ตัดที่กี่ Volt
- ตรวจเช็ควงจรตรวจจับไฟเข้าหน่วงเวลา 5-8 วินาที
- ตรวจเช็ควงจรตรวจจับไฟฟ้าดับ ต้องทำการให้แสงสว่างได้ภายใน ไม่เกิน 2วินาที ไฟฉุกเฉินมีสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจเช็คหลักๆมีเท่านี้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยก็แล้วแต่รุ่นว่ารุ่นไหนมีฟังก์ชันอะไรแต่ถ้าสิ่งเหล่านี้ใช้ได้เวลาไฟฟ้าดับก็ใช้ได้
การตรวจเช็คทุกครั้งไม่ว่าจะกี่ปีก็เช็คเท่านี้เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญ
คำตอบ :
- มอก 1102-2538 มาตรฐานทั่วไป โคมไฟฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ
- มอก 1955-2551 มาตรฐานบังคับ บริภัณฑ์ส่องสว่าง และบริภัณฑ์ที่คล้ายกัน ขีดจำกัดสัญญาณ รบกวนวิทยุ โคมไฟฉุกเฉิน ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน ชุดควบคุมฯ
- CE Mark มาตรฐานทั่วไป จากยุโรป โคมไฟฉุกเฉิน ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน แบตเตอรี่ฯ
- Rohs Mark มาตรฐานระเบียบการจัดการการใช้สารอันตรายบางชนิดในเครื่องไฟฟ้า โคมไฟฉุกเฉิน ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน แบตเตอรี่ฯมาตรฐานรองรับด้านสารเจือปน จำพวกสารตะกั่วที่มีน้อยกว่า 0.1% ของมวลทั้งหมดของสินค้าทั้ง โคมไฟฉุกเฉิน และ ป้ายไฟทางออกฉุกเฉินโดยสารต่างๆที่ได้ ตรวจสอบว่าผ่านตาามเกณฑ์มีทั้งหมด 6 ตัว ดังนี้ ตะกั่ว, ปลอด, แคสเมี่ยม, เฮกซะวาเลนซ์, โพลีโบมิเนด_ไปแฟนนิลอีเธอร์, โพลีโบมิเนด_ไบเฟนนิล
- ของแบตเตอรี่ CE เป็นการรับรองจาากประเทศแถบยุโรป และ UL เป็นมาตรฐานการรับรองของอเมริกา ซึ่งแบตเตอรี่ ของซันนี่ได้รับรองทั้ง CE และUL
คำตอบ : 80 เซนติเมตร โดยประมาณ
คำตอบ :
- เครื่องได้เสียบปลั๊ก 220VAC ไว้หรือไม่
- ไฟเข้าเครื่อง หรือไม่ (สังเกตุจาก Indicator)
- สภาวะ standby สามารถกด Test และหลอดสว่างหรือไม่
- ปิดสวิตช์อยู่หรือไม่ ในบางรุ่น
- ตรวจสอบว่าเครื่องโคมไฟฉุกเฉินได้ใส่ไว้แบตเตอรี่รึยัง
- เครื่องได้รับการอัดประจุตามเวลา 10-15 ชม. หรือไม่
- ขั้วหลอด, หลอด และ ฟิวส์ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
คำตอบ : เวลาชาร์จที่เหมาะสม 10-15 ชม.
คำตอบ : รุ่น NAU, SAU ,SN
- เปิดฝาเครื่องโคมไฟฉุกเฉิน
- มองหาขั้วแบตเตอรี่
- หากขั้วแบตเตอรี่ลอยอยู่ให้ต่อเข้ากับแผ่นวงจร และทำการกดลงไปให้แน่น
- ทดสอบเครื่อง
- ปิดฝาเครื่องและขันน็อต
ABOUT BATTERY
เกี่ยวกับแบตเตอรี่
คำตอบ : สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่บวม หรือแตก ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากวิธีการชาร์จแบตเตอรี่
วิธีการชาร์จแบตเตอรี่แบบไหนจึงทำให้แบตเตอรี่บวม หรือแตกได้
- วิธีการชาร์จแบบให้แบตเตอรี่เต็มเร็ว (Quick Charge) คือทำการชาร์จที่กระแสชาร์จสูงกว่า 30% ของความจุของตัวแบตเตอรี่ การชาร์จที่กระแสสูงเช่นนี้จะทำให้แบตเตอรี่เกิดความร้อน เปลือกของแบตเตอรี่ที่ทำจากพลาสติกก็จะอ่อนนิ่ม และแก๊สที่เกิดขึ้นภายในตัวแบตเตอรี่ก็มี ปริมาณมากจึงเกิดความดันภายในตัวแบตเตอรี่สูง จึงดันให้เปลือกของแบตเตอรี่บวม ถ้าทำการชาร์จทิ้งใว้นานๆหรือกระแสสูงมากๆ ก็จะดันให้แบตเตอรี่แตกได้
- วิธีการชาร์จแบตเตอรี่ที่ออกแบบการชาร์จที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม การชาร์จแบตเตอรี่วิธีการ ชาร์จที่ดีและปลอดภัยกับแบตเตอรี่ คือการชาร์จแบบ Normal Charge นั่นคือกระแสชาร์จที่ชาร์จ เข้าตัวแบตเตอรี่จะต้องไม่เกิน 10% ของความจุของตัวแบตเตอรี่แต่ถึงแม้การชาร์จที่เป็นแบบ Normal Charge แล้วก็ตาม แต่ถ้ากำหนดจุที่แบตเตอรี่เต็มไม่ถูกต้อง (การชาร์จแบบ Standby Use) ซึ่งในขณะที่แบตเตอรี่ชาร์จจนเต็มแล้วแต่ก็ยังมีกระแสไฟไปเลี้ยงตัวแบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลาเป็น ระยะเวลานานๆถึงแม้กระแสนั้นจะมีค่าไม่เกินค่า Normal Charge ก็ตามแบตเตอรี่ก็จะร้อนและบวมได้
คำตอบ : สาเหตุคือ ด้วยคุณสมบัติของแบตเตอรี่ทุกชนิดทุกยี่ห้อ ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มันจะมี ปัญหาอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นมาควบคู่กับแบตเตอรี่ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
- ชนิดของแบตเตอรี่
- อุณหภูมิและความชื้นในบริเวณที่จัดเก็บแบตเตอรี่
คือปัญหาเรื่องของ Self Discharge ประจุที่ถูกคายออกด้วยตัวเอง ถึงแม้ Self Discharge จะมีค่าน้อยมากก็ตามแต่ถ้าทิ้งใว้เป็นระยะเวลานานๆโดยที่ไม่ได้นำแบตเตอรี่มาทำการชาร์จประจุเข้าไปเลย แบตเตอรี่ก็จะคายประจุไปจนทำให้ Electrolyte ภายในแบตเตอรี่ที่มีสภาพเป็นกรด(บางชนิดเป็นด่าง) ค่อยๆกลายสภาพเป็นกลาง แผ่นธาตุภายในแบตเตอรี่จึงเริ่มเกิด Oxide ปกคลุมแผ่นธาตุทำให้พื้นที่ ที่แผ่นธาตุจะทำปฏิกิริยากับ Electrolyte ก็น้อยลงมีผลให้ค่าความจุของแบตเตอรี่ต่ำลง หรือถ้าทิ้ง ใว้นานจน Oxide ปกคลุมจนเต็มหน้าแผ่นธาตุ แบตเตอรี่ก็จะชาร์จไฟไม่เข้า
จากปัญหาเหล่านี้ผู้ใช้แบตเตอรี่ไม่มีโอกาสที่จะรู้ได้เลยว่าเมื่อไหร่จึงสมควรที่จะต้องนำ แบตเตอรี่มาทำการชาร์จไฟนอกจากการกะเวลาเอาซึ่งบางครั้งก็อาจจะเกิดการลืมหรือกะเวลาผิดพลาดจึงทำให้แบตเตอรี่เสื่อมประสิทธิภาพหรือเสียได้
แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร?
ถ้าเรามองหาวิธีการแก้ปัญหานี้ มีวิธีที่เหมาะสมอยู่วิธีเดียวคือต้องมีเสียงเตือน(การเตือนด้วยวิธีอื่น ผู้ใช้อาจไม่สังเกตุเห็น) เมื่อแบตเตอรี่ประจุลดลงจนถึงจุดที่จะต้องนำไปชาร์จไฟเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย แก่แบตเตอรี่
แล้วตัวเตือนด้วยเสียงที่ว่านี่คืออะไร?
ตัวเตือนด้วยเสียงนี้เรียกว่าวงจร Battery Checker วงจร Battery Checker นี้จะเป็นวงจรที่ทำหน้าที่ คอยตรวจเช็คค่า OCV(Open Circuit Voltages) โดยที่วงจรจะคอยตรวจจับค่าแรงดันที่ขั้วของ แบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลา เมื่อประจุลดลงแรงดันที่ขั้วของแบตเตอรี่ก็จะลดลงตามไปด้วย วงจรจะ ถูกกำหนดให้ว่าเมื่อประจุของแบตเตอรี่ลดลงจนเหลือประมาณ 70%(อ้างอิงจากคู่มือของแบตเตอรี่) ก็จะส่งเสียงที่มีความถี่สูงเพื่อเตือนให้ได้ยินได้ไกลทุกๆ 15 วินาทีจนกว่าจะนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟ เข้าไปอีกครั้ง วงจรก็จะหยุดส่งเสียงเตือน
คำตอบ : บางคนอาจจะตอบว่าเป็นเพราะแบตเตอรี่ต่างชนิดกัน แล้วมันเป็นเช่นนั้นจริงเหรอ จริงครับแต่ไม่ใช่เหตุผลหลักหรือเหตุผลสำคัญ
แล้วเหตุผลที่สำคัญที่แท้จริงนั้นมันคืออะไร?
สาเหตุสำคัญที่จริงแล้วคือ ลักษณะของการนำเอาแบตเตอรี่มาใช้งานต่างหากที่เป็นปัจจัยหลัก คือโทรศัพท์มือถือเป็นการใช้แบตเตอรี่แบบ Circle Use ส่วน เครื่องไฟฉุกเฉินเป็นการนำแบตเตอรี่ มาใช้งานแบบ Standby Use
Circle Use คืออะไร?
Circle Use คือการนำแบตเตอรี่มาทำการชาร์จไฟเมื่อแบตเตอรี่หมด และเมื่อชาร์จไฟแบตเตอรี่เต็มแล้วจึงนำออกไปใช้งาน
Standby Use คืออะไร?
Standby Use คือการชาร์จแบตเตอรี่แบบมีไฟเลี้ยงแบตเตอรี่ใว้ตลอดเวลาเพื่อให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ เพื่อจะรอใช้งานเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ไฟที่ไปเลี้ยงแบตเตอรี่ตลอดเวลานี้เป็นต้นเหตุสำคัญ ที่ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้น
ซึ่งถ้าเราสามารถนำเครื่องไฟฉุกเฉินมาใช้งานได้ทุกวันเหมือนโทรศัพท์มือถือ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินก็สามารถใช้งานได้ไม่ต่างกับแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือเท่าไหร่นัก แต่ในการใช้งานจริงๆมันไม่สามารถทำอย่างนั้นได้
แล้วจะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาปัญหานี้ได้?
นวัตกรรมใหม่ในการออกแบบวงจรชาร์จแบตเตอรี่ที่มีการใช้งานแบบ Standby Use ให้มีการชาร์จ แบตเตอรี่เป็นแบบ Circle Use ด้วยวงจรชาร์จที่เรียกว่า 3 Step Charger จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
3 Step Charge คืออะไร ทำงานยังไง?
3 Step Charger คือ วงจรชาร์จแบตเตอรี่ที่จะตัดวงจรชาร์จแบตเตอรี่ออกจากแบตเตอรี่เมื่อแบตเตอรี่ชาร์จเต็มเหมือนการชาร์จแบบ Circle Use ซึ่งก็จะไม่มีไฟไปเลี้ยงแบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลา
การทำงานของ 3 Step Charger คือ?
Step 1. ถ้าประจุของแบตเตอรี่ต่ำมาก การชาร์จประจุเข้าแบตเตอรี่ โดยวิธีควบคุมกระแสชาร์จ (Limit Current) ไม่ให้เกิน Normal Charge คือไม่เกิน 10%ของความจุของตัวแบตเตอรี่
Step 2. เมื่อประจุของแบตเตอรี่สูงขึ้น กระแสชาร์จก็จะลดลง วงจรชาร์จก็จะเปลี่ยนการชาร์จเป็นแบบการชาร์จแบบแรงดันคงที่ (Constant Voltage Charge)
Step 3. เมื่อทำการชาร์จด้วย แรงดันคงที่จนมาถึงจุด Float Charge (แบตเตอรี่เต็ม) แล้ววงจรชาร์จก็จะเปลี่ยนการชาร์จเป็นแบบ Flip Flop Charge คือจะทำการตัดวงจรชาร์จออกจากแบตเตอรี่แล้วปล่อย ให้แบตเตอรี่คายประจุไปด้วย Self Discharge จนประจุลดลงมาถึงระดับที่ตั้งใว้ (อิงจาก OCV ในคู่มือ ของแบตเตอรี่) ก็จะทำการต่อการชาร์จด้วยวงจร Constant Voltage Charge เข้าไปจนเต็มอีก
คำตอบ : อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างมีอายุการใช้งาน ซึ่งโคมไฟฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่อาจจะดูเหมือนไม่มีการใช้งานเมื่อไฟไม่ดับ แต่เนื่องจากธรรมชาติของแบตเตอรี่ มี Self Discharge อยู่ตลอดเวลาทำให้ประจุลดลง ดังนั้น automatic charging system จะทำการประจุไฟเข้าไปตลอด ก็เท่ากับเป็นการใช้งานแฝงอยู่ตลอดเวลา เพราะมีการ Discharge และชาร์จ อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่จะเหมือนกับสถานะแรกที่ติดตั้ง เมื่อเวลาผ่านไปเพราะเมื่อเกิดการใช้งาน มันจะเกิดการบั่นทอนอายุการใช้งานอยู่แล้ว มากน้อยขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจร
ดังนั้นเมื่อเรารับประกัน 2 ปี เรารับประกันว่า 2 ปี แบตเตอรี่นั้นยังจ่ายไฟได้อยู่ ไม่ได้รับประกันว่า ประสิทธิภาพยังจะเท่าเดิมค่ะ
คำตอบ : อย่างที่เคยได้พูดมาแล้วว่าการนำเอาแบตเตอรี่มาใช้กับไฟฉุกเฉินนั้นเป็นการนำแบตเตอรี่ มาใช้งานแบบ Stan by Use ซึ่งการนำแบตเตอรี่มาใช้แบบ Stan by Use นี้จะมีประจุจ่ายเข้าแบตเตอรี่ อยู่ตลอดเวลาเพื่อชดเชยประจุที่แบตเตอรี่คายออกด้วยตัวของมันเอง เพื่อให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดเวลาที่ไฟฟ้าไม่ดับจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่เสื่อมเร็ว ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความคิดว่าถ้าไฟฟ้าไม่ดับต่อเนื่องเป็นเวลานาน มันควรจะต้องให้แบตเตอรี่ได้มีการคายประจุออกไปบ้างเพื่อให้แผ่นธาตุได้มีการใช้งาน
แล้วไฟฟ้าไม่ดับนานแค่ไหนจึงควรให้แบตเตอรี่ได้มีการคายประจุ จริงๆแล้วที่ถูกต้องและเหมาะสมคือทุกวัน แต่ในการใช้งานจริงมันทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะมันจะเกิดความรำคาญแก่ผู้ใช้ เราก็เลยคิด ว่าดีที่สุดคือ 30 วัน คายประจุ 30 นาที ก็น่าจะเหมาะสม
เมื่อความคิดนี้เกิดขึ้นมาใหม่ๆ ช่วงแรกเราใช้วิธีการแนะนำให้ผู้ใช้ทำการดึงปลั๊กเครื่องไฟฉุกเฉินออกทุกประมาณ 30 วันเป็นเวลาประมาณ 30 นาที แล้วเสียบปลั๊กกลับเข้าไปเช่นเดิม แต่มันยุ่งยากไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้
วงจร Auto test จึงถือกำเนิดขึ้น โดยเราได้ออกแบบวงจรให้ทำงานแบบอัตโนมัติคือทุกๆ 30 วันมันจะทำการตัดไฟเข้าเครื่องจำลองสถานการณ์ไฟฟ้าดับเป็นเวลา 30นาที แล้วจึงต่อไฟเข้าเครื่อง เช่นเดิม นี่คือเหตุผลที่เราได้ริเริ่ม วงจร Auto test แต่ในเวลาต่อๆมาได้มีการพัฒนาการตั้งเวลาและ ขยายเวลากันมาก เพื่อผลในด้านเชิงธุรกิจ แต่จุดประสงค์หลักจริงๆเป็นไปตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว
วงจร Auto test ช่วยยืดอายุให้แบตเตอรี่ได้จริงหรือ?
จากที่ได้เก็บสถิติมาวงจร Auto test ก็สามารถช่วยยืดอายุของแบตเตอรี่ได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น เราจะสามารถสังเกตุดูได้ว่า เครื่องไฟฉุกเฉินทุกๆตัวที่มีวงจร Auto test แบตเตอรี่ก็ยังมีอายุการใช้งานไม่นานเท่าที่ควรอยู่ดี เพราะวงจร Auto test มันเป็นการแก้ปัญหาทาง Output ซึ่งเป็นปลายเหตุ ที่ถูกต้องมันควรจะต้องแก้ปัญหาที่ Input ที่เป็นต้นเหตุ (ถ้า Input มีปัญหา output ก็ไม่มีไฟออก)
แล้วการแก้ปัญหา Input จะต้องแก้อย่างไร?
ก็แก้ได้ตามที่เคยได้พูดใว้แล้วในตอนแรกๆ เรื่อง การชาร์จแบตเตอรี่
คำตอบ : เมื่อสมัยแรก ๆ ที่เครื่องไฟฉุกเฉินได้ผลิตออกมาจำหน่ายในท้องตลอด การทำงานของเครื่องก็คือ เวลาไฟฟ้าดับหลอดไฟก็ติดเพื่อให้แสงสว่างเท่านั้น ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนแบบ ปัจจุบันนี้ไม่มี มีอย่างมากก็แค่ สวิตช์ Test ที่ติดอยู่ที่ตัวเครื่องที่เรียกว่า Manual Test เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกขึ้นเวลาที่จะต้องการทดสอบดูว่าเครื่องยังสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ถ้าเกิดเหตุการณ์ ไฟฟ้าดับ โดยไม่ต้องดึงปลั๊กไฟ AC ออก แต่เมื่อผู้ใช้ต้องการจะทำการทดสอบแต่ละครั้งมันยุ่งยาก ไม่สะดวกต้องหาบันไดมาปีนขึ้นไปที่ตัวเครื่อง เพราะส่วนใหญ่เครื่องไฟฉุกเฉินมักจะติดอยู่ที่สูง ในสมัยนั้นการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของเครื่องไฟฉุกเฉินมีความสำคัญเป็นเพราะว่าหลอดไฟที่ให้แสงสว่างเวลาไฟดับคือ หลอดใส้ (Incandescent Lamp) ซึ่งประสิทธิภาพต่ำกินไฟสูง และขาดง่าย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ๆ
ด้วยเหตุนี้วงจร Remote test จึงได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวคือ สามารถทดสอบความพร้อมใช้งานได้ในระยะไกลโดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับตัวเครื่อง
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการออกแบบ Remote test คือ ทดสอบความพร้อมใช้งานของเครื่อง ส่วน Auto test วัตถุประสงค์คือเพื่อให้แบตเตอรี่ได้มีการใช้งานดึงประจุ ออกบ้างเมื่อไฟฟ้าไม่ดับเลยเป็นเวลานาน
ด้วยปัจจุบันการแข่งขันในวงการไฟฉุกเฉินสูงจึงทำให้ผู้ผลิตได้มีการปรับปรุงและพัฒนาฟังก์ชั่น การทำงานของ Remote test ให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นจนตอนนี้การทำงานของ Remote test ไปทับ กับการทำงานของ Auto test ไปแล้วแต่ก็ถึอว่าเป็นสิ่งที่ดีเพื่อให้ผู้ใช้มีความหลากหลายที่จะเลือกใช้งาน
คำตอบ : แบตเตอรี่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานไฟฟ้า ในรูปแบบของพลังงานเคมี ซึ่งก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของแผ่นธาตุ และตัวทำปฏิกิริยา ทำให้คุณสมบัติข้อดี ข้อด้อย ของแบตเตอรี่แต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ แบตเตอรี่ทุกชนิดจะไม่สามารถ ใช้ไฟจากแบตเตอรี่จนหมดเลยได้ เพราะมันจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมประสิทธิภาพลงไปทันที ประสิทธิภาพ ที่เสื่อมลงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าประจุจะถูกดึงออกไปหมดมากแค่ไหน ถ้าถึงกับหมดเกลี้ยงเลย แล้วไม่รีบเอามาชาร์จไฟอย่างนี้จะเสื่อมสภาพแบบถาวร
เมื่อเป็นเช่นนี้การใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉินที่ให้แสงสว่างขณะที่ไฟฟ้าดับ ซึ่งเราจะไม่รู้เลยว่าการที่ ไฟฟ้าดับแต่ละครั้งจะดับนานแค่ไหน ถ้าดับแป๊บเดี๋ยวก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าดับนานเกินกว่าที่แบตเตอรี่ จะจ่ายพลังงานให้หลอดไฟได้จะเกิดอะไรขึ้น แบตเตอรี่ก็จะเสียโดยถาวรไม่สามารถที่กักเก็บพลังงาน ไฟฟ้าใว้ได้อีกต่อไป
การแก้ปัญหาการใช้ไฟจากแบตเตอรี่จนหมด บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่แต่ละชนิดจะกำหนดระดับแรงดันของแบตเตอรี่ใว้ว่าแรงดันระดับต่ำสุดของแบตเตอรี่ที่จะไม่ควรใช้งานต่ออยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆในการนำเอาแบตเตอรี่มาใช้งาน ไม่ได้จำเป็นเฉพาะเครื่องไฟฉุกเฉินเท่านั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่นำแบตเตอรี่มาใช้งานไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ชนิดใด จึงจำเป็นต้องมีวงจรตัดการใช้งานเมื่อแรงดันลดลงจนถึงจุดที่เป็นอันตรายแก่แบตเตอรี่ชนิดนั้น ๆ (แบตเตอรี่ต่างชนิดกัน จุดนี้จะต่างกัน) วงจรชุดนี้เรียกว่าวงจร LOW VOLTAGE CUT OFF หรือ LOW VOLTAGE DISCONNECT
คำตอบ : ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าการนำแบตเตอรี่มาใช้งานจำเป็นจะต้องมีชุด Low Voltage Cut Off เพื่อปกป้องประสิทธิภาพของแบตเตอรี่คือจะทำการตัด Load ออกเมื่อแบตเตอรี่ได้ใช้งานมาจนถึงจุดที่แบตเตอรี่จะเป็นอันตราย
เครื่องไฟฉุกเฉินก็เช่นเดียวกันวงจรชุด Low Voltage Cut Off ก็จะตัดการให้ แสงสว่างออกทันทีเมื่อแบตเตอรี่ประจุลดลงจนถึงจุดที่จะเป็นอันตรายกับแบตเตอรี่ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ เป็นเวลานาน ๆ เกินกว่าที่แบตเตอรี่จะสามารถจ่ายพลังงานให้แก่หลอดไฟได้ ซึ่งผู้ใช้จะไม่มีโอกาส รู้เลยว่า วงจรชุด Low Voltage Cut Off จะตัดการให้แสงสว่างเมื่อไหร่ โดยเฉพาะปัจจุบันนี้หลอดไฟที่ใช้ ในเครื่องไฟฉุกเฉินเป็นหลอด LED ตัวหลอด LED นี้จะมีวงจรชุด Driver เป็นตัวขับหลอด และจะรักษาระดับความสว่างให้คงที่อยู่ตลอดเวลาถึงแม้แรงดันของแบตเตอรี่จะลดลงก็ตามทำให้ผู้ใช้งานมอง ไม่ออกว่าประจุของแบตเตอรี่ลดลงแล้ว ซื่งก็ยังพอจะคาดเดาได้ว่า วงจรชุด Low Voltage Cut Off ใกล้จะตัดแล้ว
แต่เมื่อผู้ใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉินไม่สามารถรู้ได้ แล้วจะทำเช่นไรเพื่อที่จะเตือนให้ผู้ใช้งานรับรู้ได้ก่อนที่ วงจร Low Voltage Cut off จะทำการตัดการให้แสงสว่าง เพื่อจะได้เตรียมจัดหาอุปกรณ์เพื่อชดเชยแสงสว่างจากเครื่องไฟฉุกเฉินจะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุเวลามืด
วงจรเตือนนี้เรียกว่า LOW VOLTAGE SOUND INDICATOR จะเป็นวงจรที่ทำหน้าที่เตือนด้วยเสียงดัง 1 ครั้งทุก ๆ 15 วินาที จนกว่า วงจร Low Voltage Cut Off จะตัดการจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังหลอดไฟ